Monday, October 3, 2011

Miyazaki Kusala Indigo Review



Photobucket


Miyazaki Golf Shaft เป็นก้านยี่ห้อใหม่แต่อยู่ในวงการกอล์ฟมาแล้ว 20 ปี จุดเด่นของบริษัทคือความก้าวหน้าทางเทคโลยีการผลิตก้านพรีเมี่ยมที่มีน้ำหนักก้านเบากว่าก้านญี่ปุ่นทุกยี่ห้อที่มีขายตามท้องตลาด Kusala Indigo ก็เป็นก้านในซีรีส์ของ Kusala ที่ให้ความนุ่มนวลของก้านเหมือนกับก้านญี่ปุ่นทั่วไป แต่ก็มีจุดเด่นที่เทคโลยีจุดดีดของก้านแบ่งเป็น 4 ช่วง ตั้งแต่ปลายก้านจนถึงโคนก้าน ส่วนระดับความแข็งนั้นเริ่มตั้งแต่ 0-9 ถูกกำหนดเป็น International Flex Code
Miyazaki Kusala ที่วางตลาดในปี 2009 นั้นมีอยู่ 3 รุ่นคือ Kusala Black ที่ให้วิถีลูกต่ำ Kusala Blue ให้วิถีลูกปานกลาง Kusala Sliver ให้วิถีลูกปานกลางถึงสูง ส่วน New for 2012 Miyazaki Kusala Indigo มีจุดดีด Mid kick ให้วิถีลูกต่ำถึงปานกลาง ที่ความสูงของวิถีลูกนั้นอยู่ระหว่าง Kusala  Black กับ Kusala Blue และมีความเร็วของลูกเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงเป็นก้านน้ำหนัก 50 กรัม ที่มีวิถีลูกและสปินต่ำกว่าทุกตัวในตลาด ณ ตอนนี้ 


Photobucket
New For 2012 Miyazaki Kusala Indigo Shaft Specs
Model

 Flex
Tip Diameter
Trajectory
Raw Weight
Tapered Butt Dia
International Flex Code BENDING
Frequency (cpm)
Traditional Torque
Indigo
83
X
0.335"
Low/Mid
83g
0.635"
7777
283
2.5°
Indigo
72
X
0.335"
Low/Mid
73g
0.625"
7777
279
3.1°
Indigo
72
S
0.335"
Low/Mid
70g
0.620"
5555
264
3.1°
Indigo
61
X
0.335"
Low/Mid
65g
0.610"
7777
275
3.3°
Indigo
61
S
0.335"
Low/Mid
62g
0.610"
5555
263
3.4°
Indigo
61
R
0.335"
Low/Mid
60g
0.605"
3333
245
3.9°
Indigo
56
X
0.335"
Low/Mid
58g
0.615"
7777
275
4.0°
Indigo
56
S
0.335"
Low/Mid
56g
0.610"
5555
260
4.0°
Indigo
56
R
0.335"
Low/Mid
54g
0.600"
3333
245
4.2°

Photobucket

Miyazaki Kusala Indigo 56X
ผมยังมีข้องใจและอยากจะลองดูกว่าถ้าใช้ก้านที่มีน้ำหนักที่เบาลงและแข็งขึ้นระยะจะเพิ่มหรือไม่ เพราะเมื่อตอนที่ทำริวิวก้าน Miyazaki Dromos 61R ในหัว Titleist 910 D2 นั้นระยะที่ได้นั้นก็เฉยๆ แต่การควบคุมซ็อตนั้นดีมากเพราะตีอยู่ในแฟร์เวย์ค่อนข้างดี แต่เมื่อเห็นเพื่อนร่วมก๊วนที่ผมจัดหาและเปลี่ยนก้านให้ใช้ Aldila Photo by You 60X นั้น เมื่อผมลองตีเทียบระยะกันดูก็ปรากฏว่า ทิ้ง Dromos 61R ไปประมาณ 20 กว่าหลา แต่ด้วยน้ำหนักรวมที่มากเกินไปคงจะตีไม่ครบ 18 หลุมแน่ สิ่งที่ผมคิดมานานว่าเมื่อไหร่บริษัทผู้ผลิตก้านจะทำก้านในรุ่น 50 กรัมและมี Flex X ออกมาจำหน่ายบ้าง เดี๋ยวนี้บริษัทผู้ผลิตก้านมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ส่วนหัวที่ใช้ในการทดสอบนั้นคือ TaylorMade R9 SuperTri lolf 9.5 ที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดี ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการในตลาดไม้กอล์ฟบ้านเรา TaylorMade มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งเฉพาะหัวไม้ บริษัทคู่แข่งทั้งหลายพยายามจะทำลายกำแพงนั้นโดยการอบรมพนักงานขายของตนเอง ทำยังไงก็ได้ที่จะทำให้สินค้าของตัวเองขายได้ เพราะเมื่อขายได้หนึ่งชิ้นก็เท่ากับว่าตัดยอดขายของอีกฝั่งหนึ่งด้วย


Photobucket
TaylorMade R9 SuperTri Miyazaki Kusala Indigo 56X
Total weight 311g.
Swing weight D4
Length 45.5
CPMs 253

การทดสอบในสนามไดร์ฟ
ตอนแรกทำวความยาวไว้ที่ 45.7 และค่าสวิงเวทอยู่ที่ D5 น้ำหนักรวมอยู่ที่ 312 กรัม ใช้ Sleeve R11 TP ซึ่งใส่ได้กับหัว R9 SuperTri ผู้ทดสอบรายแรกของผมเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่นฝีมือดีก็คือพี่ติ๊ก( พัฒนพงศ์ ศรีเมฆ) คำตอบสั้นๆ ที่ได้จากพี่ติ๊กก็คือดีที่สุดเท่าที่เคยทดสอบก้านที่ผมเคยให้ลองในการรีวิวก้านอื่นๆ ก่อนหน้านั้น ส่วนผู้ทดสอบรายอื่นก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเหมือนกันเพราะพี่ชายท่านหนึ่งที่ใช้หัว Epon AF-152 Miyazaki C.Kua 59กลับตีไดร์ฟเวอร์ของตัวเองได้ไกลกว่า ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจาก R9 SuperTri มีสวิงเวทที่เยอะไปนิด จึงอาจจะไม่คุ้นเคยแต่ผมก็คาใจไม่หายจึงอยากจะแก้ตัวอีกสักครั้ง ส่วนพี่ชายอีกคนหนึ่งซึ่งปกติก็ตีลูกไม่ค่อยจะลอยแต่มีความเร็วหัวไม้เกินร้อยก็ยังเป็นเหมือนเดิมคือไม่ลอยอีกเช่นเดิม


ความยาวของ R9 SuperTri,R11 ในรุ่นที่มีน้ำหนักก้าน 50 กรัมที่มาจากโรงงานนั้นจะมีความยาวอยู่ที่ 45.25 จึงทำให้หัวไม้ TaylorMade มีสวิงเวทอยู่ที่ D1 ส่วนก้านในก้านในรุ่น 60 กรัม จะมีความยาวที่ 45.75 นิ้ว และมีสวิงเวท D4 แต่ใช้กริฟที่มีน้ำหนัก 55 กรัม เมื่อเข้าใจว่าปัญหาน่าจะเกิดจากความยาวก้านที่มากไปในก้านรุ่น 50 กรัม จึงตัดความยาวเหลือที่ 45.5 นิ้วจากร้านที่ทำประจำที่ ProWorkz แต่เมื่อไปวัดที่ร้าน Club Fit All Star ความยาววัดได้ 45.25 นิ้ว และค่า CPM เป็น 261 เพราะฉะนั้นใช้บริการร้านไหนก็ควรจะเช็คจากร้านนั้น



Photobucket
การทดสอบในการออกรอบ
ได้ซ้อมก่อนหนึ่งวันก่อนออกรอบตีไปประมาณ 15 ลูกก็เหนื่อยแล้วเก็บแรงไว้วันที่ออกรอบดีกว่า จำนวนแค่สามถาดแต่ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงในการซ้อม พอได้ไปเล่นที่สนามบางกอก กอล์ฟคลับ ระยะที่ได้นั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 20 หลา นั่นเป็นเพราะความเร็วของลูกเพิ่มขึ้น จากที่เคยตามพี่ๆ ในก๊วนก็ได้ในระยะที่ใกล้เคียงกัน วิถีลูกต่ำ ฟิลลิ่งนุ่มนวล การควบคุมซ็อตที่ดีมากตีอยู่ในแฟร์เวย์ 9 จาก 14 หลุม และมาลองอีกครั้งที่สนาม Silky Oak และได้ให้ขาประจำของก๊วนผมได้ลองก้านตัวนี้เทียบกับ Cleveland TL310 9.5 Miyazaki C.Kua 59S ซึ่ง Miyazaki Kusala Indigo 56X ให้วิถีลูกพุ่งและต่ำกว่านิดนึง สำหรับผมแล้วก็พอใจมากเพราะเป็นก้านที่ผมเสาะหามานาน กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นนักกอล์ฟฝีมือดีที่ต้องการก้านที่ให้วิถีลูกต่ำ น้ำหนักเบา ความนิ่งของก้านมีสูงในตลาดก้านไม้กอล์ฟเวลานี้ยังหาก้านในรุ่น 50 กรัมเทียบกับรุ่นนี้ยังไม่มีครับ
Miyazaki C.Kua 59S Vs Miyazaki Kusala 61S

1 comment:

  1. เพิ่งจะหัด15/10/11 19:10

    หลังจากปรับแล้วลองอีกครั้งชอบจริงๆครับ นิ่งและคมกว่าเดิมมาก สปีดบอลออกจากหน้าไม้ดีมากครับ...

    ReplyDelete